โครงการ
มีแนวคิดรับบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ใช้งานแล้วตามบ้าน นำมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยส่งต่อให้กับผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้งาน "ป่วยให้ยืม" มีจุดเริ่มต้นมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อปี 2564 ขณะนั้นมีผู้ต้องการใช้ถังออกซิเจน และเครื่องผลิตออกซิเจนจำนวนมาก ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ขาดแคลน ในขณะเดียวกัน ทีมงานตั้งสมมุติฐานว่าอาจจะมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ตามบ้านผู้คนที่ก่อนหน้านี้จำเป็นต้องใช้งาน
เราองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเพื่อให้คำปรึกษา ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตาม และให้ความช่วยเหลือคนหายซึ่งมี สภาวะความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัย โดยที่ศูนย์ข้อมูลคนหาย จะเข้าไปมีบทบาทโดยตรงในการให้คำแนะนำ ประสานงานช่วยเหลือครอบครัวคนหายให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นกลไกสำคัญในการติดตาม และช่วยเหลือคนหายให้กลับคืนสู่ครอบครัวด้วยความปลอดภัย
จากการดำเนินงานโครงการศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา พบว่า มีคนหายจำนวนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอาการป่วยทางสมอง หรือ โรคสมองเสื่อม ได้พลัดหลงออกจากบ้าน
ทั้งนี้ ผู้ป่วยฯบางส่วน ที่พลัดหลงออกมา หากจำต้องใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านเป็นเวลานาน อาจกลายสภาพเป็นบุคคลเร่ร่อน และยังอาจ ถูกทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้
ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสาธารณะในอันที่จะได้รับการ แก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
กิจกรรม อาสามาเยี่ยม ลงพื้นที่เยี่ยมเคสผู้ป่วยและครอบครัวถึงบ้านเพื่อ เยียวยาให้กำลังใจ พื้นที่นำร่อง จ.ปทุมธานี เพื่อสร้างความสุข ความผ่อนคลาย เป็นเพื่อนพูดคุย รับฟัง และส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์มือสองสภาพดี ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ตลอดจนของกินของใช้ในครัวเรือน ที่ได้รับบริจาคมาให้กับผู้ป่วยและครอบครัว
- เนื่องจากคนไร้บ้านเป็นกลุ่มคนที่ประสบปัญหาในด้านคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง สาเหตุหลักคือ มีทุนชีวิตในมิติต่างๆต่ำอย่างมาก เช่น มิติทางเศรษฐกิจ คือไม่มีเงินเก็บ และรายได้ที่มากพอยกระดับสภาพเศรษฐกิจส่วนบุคคลได้ - คนไร้บ้านขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งรายได้ - คนไร้บ้านส่วนใหญ่ไม่มีทักษะในการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและเป็นแรงงานไร้ฝีมือ - การจัดสรรงานให้กับคนไร้บ้านจึงควรเป็นงานที่ไม่ใช้ทักษะมาก ควรเป็นงานที่ใช้ทักษะพื้นฐาน - คนไร้บ้านมักมีปัญหาทางสภาพจิตใจที่ไม่เห็นโอกาส ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง จึงทำให้คนไร้บ้านมักอยู่ในสภาวะเฉื่อยชา ไม่มีแรงผลักดัน
นับจากเหตุการณ์พิบัติภัยสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติขนาดกลางถึงใหญ่อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นดินถล่ม ไฟป่าหมอกควัน จากพิบัติภัยต่างๆที่กล่าวมาทำให้เราพบว่า เมื่อใดก็ตามที่ภัยเหล่านั้นเกิดขึ้น ความฉุกละหุกและยากลำบากในการเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เราเริ่มต้นโครงการฯ ด้วยการเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาการขาดแคลนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ศูนย์อพยพ และผู้ประสบภัยพิบัติ เราเห็นการนำคุณค่าสิ่งของชิ้นเดิมกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
ด้วยการเปิดรับบริจาคเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่มสภาพดีทุกประเภท จากคนเมือง เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้ขาดแคลนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
ภารกิจอาสาสมัครเพื่อผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล แนวคิดของโครงการฯนี้ คือการปฏิบัติการ และพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรม
การ 'เพิ่มความสุข ลดความทุกข์'
ลดความตึงเครียดลงในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาสนับสนุนคือ อาสาสมัคร 'อาสาสมัครสร้างสุข'
เราค้นพบข้อเท็จจริงอยู่ว่า โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ต่างจังหวัด ยังคงขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน หนึ่งในนั้นคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียนของเด็กนักเรียน ซึ่งในยุคปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ หากเทียบกับเด็กนักเรียนในสังคมเมืองแล้ว เด็กนักเรียนในต่างจังหวัดยังถือว่าห่างไกลกับคำว่าข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
หนังสือ มีส่วนร่วมช่วยสร้างความสำเร็จในการดำรงชีวิต เป็นรากฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โครงการอ่านสร้างชาติ ได้ระดมรับบริจาคหนังสือมือสอง เพื่อส่งมอบต่อให้ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วัด ชุมชนแออัดในเมืองหลวง โรงงาน เราขอส่งเสริมการอ่านให้กับเยาวชน ประชาชนผู้สนใจ ตลอดจนถึงผู้ประกอบอาชีพขับวินมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และการเรียนรู้ในรูปแบบของสวนสาธารณะ ตลอดจนร้านแบ่งปัน ร้านกาแฟ และพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการเป็นหน้าบ้านในการรับบริจาคสิ่งของต่างๆ ให้กับมูลนิธิกระจกเงา โดยมีปัจจัยภายนอกเข้าร่วมในการดำเนินการด้วยคือ อาสาสมัคร
สืบเนื่องมาจากโครงการจ้างวานข้า เป็นโครงการที่จ้างงานคนไร้บ้านซึ่งปัจจุบันมูลนิธิกระจกเงา มีผู้ร่วมโครงการมากกว่า100 คน รูปแบบงานที่มักจะได้รับเป็นงานกลางแจ้ง ซึ่งไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ มูลนิธิจึงเล็งเห็นว่างานคัดแยกขยะพลาสติกรีไซเคิล เป็นงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ไร้บ้านมากกว่างานกลางแจ้งอื่น ๆ จึงเกิดโครงการ "ชรารีไซเคิล"
โครงการคลินิกกกฎหมายกระจกเงา เป็นโครงการที่ทำหน้าความช่วยเหลือทางกฎหมายกับคนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎมาย (ไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ/เสมือนไร้สัญชาติ) ซึ่งเป็นคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงสิทธิอันจำเป็นหลายประการ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลก และประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด No one left behind ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง