บ้านทุกหลังที่เขาทำความสะอาด คือทุกรอยยิ้มที่ส่งให้เขาอยากใช้ชีวิตต่อ

“แต่ก่อนถ้ามีคนถามว่าอยากมีชีวิตอยู่ถึงอายุเท่าไหร่ ผมกล้าบอกเลยว่า อายุสัก 35-40 ผมก็ไม่อยากอยู่แล้วว่ะ แต่ถ้าถามวันนี้ ผมจะตอบว่าผมอยากอยู่ไปตลอดเลย เพราะตั้งแต่ได้มาทำงานอาสาสมัคร มันทำให้ผมไม่อยากตายด้วยซ้ำ”
.
“บ้านผมมีกัน 3 คน ผมอยู่กับยายและแม่ ยายผมติดเตียงมาหลายปี วันนึงยายป่วยหนักจนต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ผมกับแม่ผลัดกันเฝ้าผลัดกันดูแล จนถึงเวลาที่หมอประเมินว่ายายกลับบ้านได้แล้ว แต่ยายต้องใช้ถังออกซิเจนช่วยในการหายใจ”
“ตอนนั้นรายได้ผมเริ่มน้อยมาก น้อยขนาดที่ผมไม่กล้าตัดสินใจ ว่าจะเอายายกลับบ้านดีมั้ย จะหาเงินจากไหนมาซื้อถังออกซิเจนใบละหลายๆ พัน ผมไม่กล้าพูดเลย เพราะผมก็ยังเอาตัวเองไม่รอด จนพี่ที่รู้จักเขาแนะนำที่ยืมถังออกซิเจน เลยได้มารู้จักกับศูนย์ป่วยให้ยืมที่อุบลฯ”
.
“ช่วงที่ยายต้องออกจากโรงพยาบาล เป็นช่วงที่อุบลฯ น้ำเริ่มท่วม บ้านผมยังไม่ท่วมนะแต่ผมไปไหนไม่ได้ เพราะถนนหลายจุดน้ำมันท่วมสูง มันกระทบงานผมมากเพราะผมหาเงินจากการวิ่งรับส่งอาหาร มีวันนึงลุยน้ำไปส่งอาหารให้ลูกค้า ผลสุดท้ายคือรถผมพัง พอไม่มีรถไม่มีเครื่องมือหากิน ผมก็ทำงานรับส่งอาหารไม่ได้อีกเลย”
.
“ผมตระเวนสมัครงาน แต่มันไม่มีที่ไหนเรียก ในหัวผมมีแต่ความเครียด รู้สึกชีวิตเราหดหู่ไปหมด เลยตัดสินใจกลับไปหาพี่เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ป่วยให้ยืม ถามเขาว่า ‘มีอะไรให้ผมช่วยทำมั้ย’ ”
.
“ผมช่วยงานอาสาส่งอุปกรณ์การแพทย์ได้เกือบเดือน พี่ในทีมก็บอกว่าเดี๋ยวจะมีงานล้างบ้าน น้ำลดแล้ว เราต้องเข้าไปช่วยชาวบ้านล้างบ้าน”
.
“วันแรกที่ไปเห็นสภาพบ้าน โหพี่!! น้ำท่วมมันเสียหายหนักนะ ผมบอกเลยว่ามันเสียหายรองลงมาจากไฟไหม้นิดเดียวเอง บ้างบ้านเป็นคนป่วยอีก ป่วยแล้วยังไม่พอนะ ตอนน้ำท่วมกลายเป็นไม่มีบ้านอยู่”
.
“ผมเห็นแล้วนึกถึงว่าถ้าเป็นยายเรา เราจะทำยังไง ไม่มีบ้านอยู่แล้วเขาไปเข้าห้องน้ำกันที่ไหน อาบน้ำกันตรงไหน ของใช้ในบ้านเละหมดเลย เขาจะเอาเสื้อผ้าที่ไหนใส่ คำถามมันเข้ามาในหัวเต็มไปหมด มันเป็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน ที่เขาเองก็ยังไม่มีทางออก บ้านบางคนหลังคายังมิดน้ำอยู่เลย มันไม่มีใครเข้าไปช่วยเขา ผมเลยตัดสินใจว่าจะลงงานล้างบ้านกับทีมแบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ให้ชาวบ้านเขาได้กลับมาอยู่บ้าน ได้กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติเร็วๆ”
.
“หลายบ้านที่หลังเราทำความสะอาดให้เสร็จ เจ้าของบ้านชอบซื้อนู้นนี่มาให้ ผมบอกเขาตลอดว่าให้เก็บไว้กินเลย เพราะแค่รอยยิ้มกับคำว่าขอบคุณที่เขามอบให้ สำหรับคนอย่างเรามันก็มากพอแล้ว”
————————————-
อั้ม เจตน์สฤษฎ์ ราโชติ
อาสาล้างบ้านมูลนิธิกระจกเงา
————————————-
เราเปิดศูนย์อาสาล้างบ้าน มาแล้วหนึ่งเดือน
ช่วยกันฟื้นฟูบ้านชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ
รวมถึงชาวบ้านกลุ่มเปราะบาง
ที่ไม่มีกำลังล้างบ้านไปแล้วกว่า 50 หลัง
เพื่อเยียวยา ลดระยะเวลาให้พวกเขา
ได้กลับเข้าบ้าน อย่างเร็วที่สุด
.
สนับสนุนภารกิจล้างบ้านได้ที่
บัญชีกองทุนภัยพิบัติ มูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 202-258298-3 SCB
Share Button

ในบ้านที่กำลังผุพัง เราซ่อมมันเพื่อให้เธอได้อยู่กับพ่ออีกครั้ง…

“สองเดือนได้แล้ว ที่พ่อต้องไปอยู่ศูนย์พักพิงสำหรับคนป่วย แกถามเราทุกวัน ว่าจะได้กลับบ้านกันตอนไหน แกอยากกลับบ้านแล้ว”
.
“พ่อแกอายุ 80 ติดเตียงมาตั้งแต่ปี 2547 แขนขาหงิกงอ เหยียดออกไม่ได้ ทำอะไรเองไม่ได้ ตอนน้ำเริ่มมาแรกๆ เราคิดว่ามันจะท่วมไม่หนัก เพราะบ้านเราเจอน้ำท่วมทุกปีมันก็ไม่เคยสูงเกินชั้นสอง เราเลยย้ายพ่อหนีน้ำจากชั้นหนึ่งขึ้นชั้นสอง ส่วนของในบ้านก็เอาขึ้นไปผูกไว้กับขื่อ”
.
“แต่เราคิดผิด น้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมาปริ่มตรงเตียงพ่อ เลยให้คนรู้จักเอาเรือมารับ ขอให้เขาพาพ่อไปศูนย์พักพิงก่อน แล้วให้ลูกชายเราที่อยู่มัธยม 5 ตามไปเฝ้า ส่วนตัวเราหาเศษแผ่นไม้มาสร้างเพิงตรงเนินข้างบ้าน เพราะบ้านเรายังอยู่ตรงนี้ มันต้องมีคนเฝ้าบ้าน”
.
“เราอยู่ตรงเนินข้างบ้าน ตั้งแต่วันที่น้ำมิดหลังคา เทียวไปเทียวมาเฝ้าพ่อกับเฝ้าบ้าน เป็นอย่างนั้นสักพักจนน้ำเริ่มลดลงครึ่งนึง ตอนนั้นก็เริ่มเห็นสภาพบ้าน บ้านที่พ่อกับเราช่วยกันสร้าง มันพังไปหมด สังกะสีหลุด แผ่นไม้หลุด เหลือแต่โครง ความรู้สึกตอนเห็นคือมันอยากจะร้องไห้ออกมาดังๆ มันอึดอัดอยู่ในใจ ถึงขั้นอยากจะโดดน้ำมูลตายไปเลย”
.
“ของใช้ในบ้านมันก็ไม่เหลือ บ้านเราอยู่ติดริมน้ำมูล พอน้ำมันซัดของก็ไหลออกไปในแม่น้ำ เราก็ไปขอยืมเรือพายคนรู้จักอีกรอบ รอบนี้เอามาพายเก็บของ มันไม่มีทางเลือกเพราะของแต่ละอย่างมันไม่ใช่ถูกๆ ไม่ได้ซื้อมาง่ายๆ ที่เก็บได้ก็เอามาเช็ดมาล้าง ส่วนที่เก็บไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้มันลอยหายไป”
.
“หลายคนเขาก็พูดกับเรา ว่าให้เราถมที่ให้มันสูงขึ้น น้ำจะได้ไม่ท่วมหนัก เพราะบ้านเราเป็นลุ่มต่ำกว่าบ้านอื่นๆ บางคนก็ว่าให้เราย้ายไปอยู่ที่อื่น เราก็อยากจะทำอยู่หรอก แต่ขาดอย่างเดียวคือเงิน จะทำอย่างเขาว่า มันก็ต้องใช้เงิน ลำพังหารับจ้างทั่วไปอย่างเราไม่ได้มีเงินมากมาย ยิ่งมาตอนนี้อีกแทบจะไม่มีรายรับเลย”
.
“เราเคยทำงานรับจ้างล้างจานอยู่ร้านอาหาร แต่พอน้ำมันท่วมมันเดินทางยาก ก็ไปทำงานไม่ได้ ป่านนี้เขาคงให้เราออกแล้วเพราะเราขาดงานมานาน ก็เหลือแต่เบี้ยคนแก่ คนพิการของพ่อ ที่พอจะได้จ่ายได้ซื้อข้าวกินกัน”
.
“วางแผนไว้ว่า ถ้าน้ำลดหมดแล้ว เราจะรีบล้างทำความสะอาดให้พ่อได้กลับมาอยู่ นอนกันตรงพื้นไม้ที่ยังไม่ผุไปก่อน เพราะตอนนี้เรายังไม่มีเงิน ได้แต่บอกพ่อไว้ว่าให้อดทนรออีกหน่อย หนูจะไปหารับจ้างเด็ดพริก เด็ดผัก เก็บเงินมาซ่อมบ้านเรา แต่หนูขออย่างเดียว ขอให้พ่ออยู่รอจนถึงวันนั้น”
———————————————
ป้าพิศ วัย 59 ปี ผู้ประสบอุทกภัย
ที่ยังต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง
———————————————
เนื่องจากบ้านของป้าพิศ เป็นที่ลุ่มน้ำขัง
ทีมอาสาล้างบ้านจึงนำเครื่องสูบน้ำ
ช่วยกันสูบน้ำออกจากบ้านของเธอ
จากนั้นเราเข้าไปช่วยขัดล้างบ้าน
เพื่อรอต้อนรับพ่อของเธอที่ป่วยติดเตียง
.
และเรามีแพลนจะช่วยเธอซ่อมบ้าน
ให้ครอบครัวของเธอพออยู่ได้
ไม่ต้องทนนอนหนาวในบ้านที่ไม่มีผนังบังกาย
บนพื้นไม้ที่กำลังผุพังลงทุกที
.
ข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ ที่เราได้รับบริจาค
จากโครงการแบ่งปันเพื่อการเปลี่ยนแปลง
จะมาเติมเต็มให้กับบ้านของป้าพิศ และครอบครัว
.
สนับสนุนภารกิจอาสาล้างบ้านและซ่อมบ้าน
ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ
ได้ที่บัญชี กองทุนภัยพิบัติ โดยมูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 202-258298-3 ธ.ไทยพาณิชย์
.
หรือหากคุณเป็นบริษัท กลุ่มองค์กร
หรือในโครงการกิจกรรม CSR
ประสงค์จะช่วยเหลือในงานซ่อมสร้างบ้าน
สามารถติดต่อเราได้ที่
0619091840 , 0639316340
Share Button

เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็น ‘รอยยิ้ม’ สู่ผู้ประสบภัยชาวอุบล

เราเอาเสื้อผ้ามาแจก
ให้กับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมที่อุบล​ราชธานี
เสื้อผ้าที่มาทดแทนตัวที่มันเน่าคาตู้เสื้อผ้าไป
ลอยไปกับน้ำที่ท่วมมิดหลังคาบ้าน
.
ยายคนนึงนั่งรอคิวที่ข้างทาง
เพราะยืนนานไม่ไหว
​จากเหตุลื่นล้มตอนล้างบ้านตัวเอง
แกนั่งรอคิวจากหางแถวสุดท้าย
ประมาณ 100 กว่าคิวได้
.
“แกบอกไฟฟ้าเพิ่งมีใช้​เอง​ ยุงก็เยอะ​
เสื้อผ้าก็ไปกับน้ำหมด​เลย”
แกถามต่ออีกว่า “มาจากที่ไหนกัน?”
.
เราตอบ​ “มูลนิธิ​กระจกเงา​ครับ”
แกถามเพิ่มเติมว่า​ “ให้เสื้อคนละกี่ตัว?”
เราตอบ​ “คนละ 20 ตัวครับ
เสื้อหนาวอีกคนละ 1 ตัว​
ให้เลือกไซส์เลือกลายเลือกสีได้​
มีข้าว​มีของอื่นๆ ด้วยครับ
ยายไม่ต้องห่วงเราเตรียมมาเยอะอยู่ครับ​
มีคนที่เขาบริจาคช่วยมาเยอะอยู่ครับ”
.
แกบอก ขอบอกขอบใจ
.
อีกฝั่งนึง​ สาววัยรุ่น 3 คน
กำลังกางดูเสื้อยืดที่ได้รับไป​
เพื่อนคนนึงในกลุ่มเอ่ยปากบอกชม
ว่า​ลายเสื้อสวยดีจัง
ไม่ทันไร วัยรุ่น​คนกางเสื้อเอ่ยปาก
บอกเป็นภาษาอีสานว่า
“ข้อยให้เจ้าเด้อ​ เป็นของขวัญวันเกิด”
เจ้าของวันเกิดยิ้มให้เพื่อนแก้มแทบปริ
.
มูลนิธิ​กระจกเงา​ เรารับบริจาคของใช้หลายอย่าง
ของส่วนหนึ่งทำหน้าที่ระดมทุน
​เพื่อเป็นทุนในการขับเคลื่อน​งานทางสังคม​ต่างๆ
.
อีกส่วนหนึ่ง​นำมาแจกจ่ายให้กับผู้คนที่ประสบภัย
ทั้งทางสังคมและธรรมชาติ
.
เรามีสโลแกน​ของงานนี้ว่า
“การแบ่งปันของคุณ​เปลี่ยนแปลงสังคม​ได้”
.
หลายเรื่องใหญ่ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว​
แม้ในเรื่องเล็ก​ เช่น ​เมื่อของแบ่งปันนี้
มาถึงมือชาวบ้านที่อุบลฯ
การเปลี่ยนแปลง​บนใบหน้าพวกเขาก็เกิดขึ้น
.
“รอยยิ้ม” คือการเปลี่ยนแปลง​ที่ว่านั้น
—————————————————
แบ่งปันสิ่งของเหลือใช้ของคุณ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลง
ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 191 ซอย วิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7
แขวงตลาดบางเขน เขต หลักสี่ กทม. 10210
โทร.061-909-1840, 063-931-6340
Share Button

ภารกิจล้างบ้าน 50 หลังของอาสาในพื้นที่และอาสานอกพื้นที่

อาสากลุ่มหนึ่ง เป็นเยาวชนต้องโทษ
อยู่ในบ้านกาญจนาภิเษก
อดีตเคยทำผิดพลาด
และพยายามเรียนรู้เพื่อกลับคืนสู่สังคม
.
อาสาอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นนักศึกษา
ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
เป็นเจ้าบ้าน เป็นลูกหลานของคนในพื้นที่
.
วันนี้อาสาสองกลุ่มมารวมกัน
คนในพื้นที่รวมแรงกับคนนอกพื้นที่
มุ่งหน้าไปยังความเดือดร้อน
พร้อมอุปกรณ์ทำความสะอาด
.
บ้านถูกล้างไปห้าสิบกว่าหลัง
ชาวบ้านหลายร้อยคน
ที่ประสบอุทกภัยมาอย่างยาวนาน
ได้กลับเข้าบ้าน กลับไปใช้ชีวิต
อย่างเป็นปกติสุขอีกครั้ง
—————————————————
ขอขอบคุณน้องๆ เยาวชนบ้านกาญจนา
และน้องๆ นักศึกษาม.อุบล
ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาสาล้างบ้าน
ใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
Share Button

ผนึกกำลังคูโบต้าและอาสาล้างบ้าน เคลียร์ความเสียหาย จ.อุบล

วันนี้เป็นวันสุดท้าย
ที่อาสาล้างบ้าน มูลนิธิกระจกเงา
อยู่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ที่วารินชำราบ อุบลราชธานี
.
พวกเราอยู่ในหน้างานฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ
เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านเพิ่งจะได้เริ่มกลับเข้าบ้าน
สำรวจความเสียหาย ล้างบ้าน ซ่อมบ้าน
เก็บข้าวของที่เสียหาย ที่กลายเป็นขยะกองโต
.
มันเป็นช่วงของความท้อแท้ สิ้นหวัง
อยู่กับสถานการณ์สิ้นเนื้อประดาตัว
.
ในช่วงเวลานี้ งานล้างบ้าน เคลียร์ขยะ
อาจจะเป็นงานที่เล็กน้อย
แต่มันเป็นกำลังใจที่เหล่าอาสา
ทำหน้าที่บอกพี่น้องผู้ประสบภัยว่า
“ไม่เป็นไรนะ เราอยู่ตรงนี้ เราอยู่เป็นเพื่อน”
.
ในช่วงเวลาท้ายสุดของความเสียหายนี้
ไม่ใช่มีแค่อาสาล้างบ้าน มูลนิธิกระจกเงา
แต่ยังมีคูโบต้า อยู่เป็นเพื่อนด้วยนะ
.
คูโบต้าเจริญชัย Kubota Siam Kubota
ส่งรถตัก 2 คัน พร้อมคนขับ 2 คน
ปักหลัก ช่วยขนย้ายขยะชิ้นใหญ่ออกจากบ้าน
ออกจากถนนหน้าบ้าน ภายในชุมชน
.
คูโบต้าอยู่เคียงข้างกับเรา
กับพี่น้องผู้ประสบภัยวารินชำราบ
ในวันที่ยากลำบากนี้ จนวันสุดท้าย
Share Button

Oriental Relationship Goals

The Brangelinas and Beyonces of Asia aren’t as legendary as their American counterparts, but there are still many Asian super star power couples out there who also are the meaning of relationship goals. Via swoon-worthy duos that will make you simultaneously desire to awww and weep to K-pop stars just who are their particular best friends, these couples prove that Asians know how to make true magic happen.

K-pop stars like Jang Jingle Gun and his wife, Ko So-young, have invariably been a method to obtain creativity for many of us. Known as the “Brangelina of Korea, ” their very own love history started following they met by a fan assembly in 2010, plus the couple now has two children along. The set are continuously hottest filipina women showing their charming moments on SNS and demonstrating that the love can be real.

https://cdn.crello.com/api/media/medium/258441044/stock-photo-happy-woman-closed-eyes-listening

While age gap relationships https://www.legit.ng/ask-legit/top/1102231-50-popular-women-world/ aren’t for everyone, they can certainly work for a lot of if each party put in the attempt. This couple, who is also known as the “Asia’s Brangelina, ” is the best example of steps to create it work with a 13-year big difference. The few are not afraid to show the true emotions for each additional, and they are as well supportive of every other’s professions in the entertainment sector.

To help more firms understand the demands of their Cookware American employees, researchers and general population statistics firms could consider collecting even more granular info that is disaggregated by ethnicity. This would assistance to ensure that employees receive support at significant moments inside their professional trips, such as during recruitment, analysis, and promo.

Share Button

คราบโคลนที่ถูกล้าง ในบ้านของหญิงวัยกลางคนที่มีผู้ป่วยถึงสองชีวิต

ศูนย์อาสาล้างบ้านปิดลงแล้ว
อาสาแยกย้ายกลับบ้าน
ชาวบ้านก็ได้กลับเข้าบ้านแล้วเช่นกัน
.
ย้อนไปหนึ่งอาทิตย์ก่อนศูนย์ฯ ปิด
เราเข้าไปช่วยล้างบ้าน
ให้หญิงวัยกลางคนอายุ 52 ปี
ที่ล้างบ้านคนเดียวมาแล้วหนึ่งสัปดาห์
แต่บ้านยังเต็มด้วยคราบโคลน
.
ในบ้านนั้นเธอไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว
แต่เป็นคนเดียวที่ยังมีเรี่ยวแรง
เพราะแม่ของเธอป่วยติดเตียง
ส่วนสามีต้องฟอกไตทุกๆ 3 วัน
.
เราใช้เวลาครึ่งชั่วโมง ล้างบ้าน
ขนของใช้ หนึ่งในนั้นมีแคร่ไม้หนึ่งอัน
ที่เธอเตรียมไว้ให้แม่ใช้นอนรักษาตัว
.
หลังทุกอย่างเสร็จสิ้น
เธอกล่าวขอบคุณ
พร้อมถามเราว่า ‘พรุ่งนี้ว่างมั้ย’
เธออยากพาแม่กลับบ้าน
แต่แม่ตัวใหญ่ แรงเธอคนเดียวยกไม่ไหว
เราจึงตอบ ‘ตกลง’ ไป ว่าจะช่วยเธอ
.
เช้าวันรุ่งขึ้น เรามาตามนัด
มีแรงกายอาสาช่วยยกตัวผู้ป่วยตามที่เธอขอ
พร้อมเตียงผู้ป่วยหนึ่งเตียง รถเข็นหนึ่งคัน
และผ้าอ้อมผู้ใหญ่อีกหลายแพ็ค
เราจะให้เธอไว้ใช้
เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ที่หนักอึ้งทางใจ
ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่ต้องดูแลผู้ป่วยถึงสองคน
——————————————————
สามารถติดต่อยืมอุปกรณ์การแพทย์ฟรี ได้ที่
เพจเฟซบุ๊ก โครงการป่วยให้ยืม
สอบถามเพิ่ม โทร. 092-252-5454
.
เรากำลังมีผู้ป่วยหนักต่อคิวรอรับเครื่องไปใช้ที่บ้าน ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตเกือบ 10 ราย แต่ช่วงนี้โครงการกำลังขาดแคลนเครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 10 ลิตร หากคุณมีเครื่องนี้อยู่ที่บ้านไม่ได้ใช้งาน กรุณาบริจาคให้มูลนิธิกระจกเงา เลขที่ 191 ซอย วิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7 แขวงตลาดบางเขน เขต หลักสี่ กทม. 10210 โทร.061-909-1840, 063-931-6340
.
บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนโครงการป่วยให้ยืม ได้ที่ บัญชีธนาคารยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมูลนิธิกระจกเงา
เลขที่บัญชี 202-269025-7 SCB
Share Button

ความฝันใหม่ของลุงป๋อง จากคนตรวจอุปกรณ์สู่ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

“คอมพิวเตอร์ โลกใบใหม่ของน้องๆ
คอมพิวเตอร์ โลกใบใหม่ของ ‘ลุงป๋อง’ ”
.
ลุงป๋องเคยเป็นพ่อค้าอาชีพ
เคยมีบ้าน มีรถ อยู่ในจุดสูงสุดของชีวิต
วันหนึ่งปัญหาหลายอย่างรุมเร้า
จนชีวิตนั้นตัดสินใจออกมาไร้บ้าน
.
การออกมาไร้บ้านของแก
ไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้
แกพยายามสมัครงาน
จนได้ทำงาน ในนามจ้างวานข้า
.
เราเสนองานตรวจเช็คอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เป็นงานที่แกเองก็ตอบรับ
ทั้งที่ไม่รู้จักอุปกรณ์คอมเลยสักชิ้นเดียว
.
งานนี้ทำให้ลุงป๋อง ในวัย 57
ได้ใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก
แกมุ่งมั่น ตั้งใจจดจำทุกรายละเอียด
อันไหนไม่รู้ลุงป๋องจะถาม
พยายามฝึกทำซ้ำๆ จนกว่าจะเข้าใจมัน
.
ผ่านมาสามเดือนแล้ว
ที่ลุงป๋องตรวจเช็คอุปกรณ์จนชำนาญ
พร้อมกับความฝันใหม่ ที่แกวางแผนไว้
ว่าเร็วๆ นี้ จะไปสมัครเรียนสารพัดช่าง
เพราะอยากไปถึงขั้นที่ซ่อมคอมได้ด้วยตัวเอง
.
คนชราคนหนึ่งที่ทั้งชีวิตไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์
พยายามเรียนรู้ เพื่อให้ความสามารถของตัวเอง
เป็นประโยชน์ ส่งต่อคอมพิวเตอร์
เปิดโลกการเรียนรู้ให้เด็กๆ รุ่นใหม่
.
และผลพวงของงานนั้น
ได้เปิดโลกการเรียนรู้ ให้คนชราที่เคยไร้บ้าน
มีงานทำ มีรายได้ มีแพสชั่นใหม่
ในการใช้ชีวิตเช่นกัน
________________________
โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง
มีคนชราเป็นกำลังหลักช่วยงาน จำนวน 4 คน
หากคุณมีคอมพิวเตอร์เก่าไม่ได้ใช้งาน
ส่งมาให้ลุงป๋องและลุงคนอื่นๆ
ช่วยคัดแยก ตรวจเช็ค เพื่อส่งต่อน้อง นร.ได้นะคะ
.
ที่อยู่จัดส่ง มูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 191 ซอยวิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร 061-909-1840 , 063-931-6340
.
โปร “เหมา…เหมา” จาก นิ่มเอ็กซ์เพรส
เหมาจ่าย 30 บาทต่อกล่อง กล่องละไม่เกิน 25 กก.
ข้อดีคือสามารถส่งได้ทุกสาขาทั่วประเทศ
ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 29 ธ.ค.2565
Share Button

‘เสี่ยหมี’ ได้กลับชุมชนอีกครั้ง ร่างของเขาไม่ใช่ศพนิรนามอีกต่อไป

ใครๆ ก็เรียกเขาว่า “เสี่ยหมี”
สมัยหนุ่มๆ เขาขยันทำงาน
อาชีพสุดท้าย คือคนขับรถตุ๊กตุ๊ก
กระทั่งผิดหวังจากความรักในวัยห้าสิบ
ความเจ็บปวดนำพาเขาสู่การดื่มสุรา
และเริ่มถูกเรียกว่า “เสี่ยหมี”นับแต่นั้นมา
.
เขาเริ่มนอนในตลาด และที่สาธารณะ
แต่งตัวมอมแมมสวมแหวน สวมสร้อยรุงรัง
มีสภาพกลายเป็นเร่ร่อนที่มีบ้าน
เมื่อตื่นจากความเมา
จะรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ที่ตลาด
.
ญาติพี่น้องซึ่งอยู่ในชุมชนเดียวกัน
พยายามดูแลเขาเท่าที่พอทำได้
เฉลี่ยเงินดูแลข้าวปลาอาหาร
แต่เขายังเลือกเดินออกจากบ้าน
ไปใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อนในตลาด
กระทั่งเมื่อ 6 ปีที่ก่อน เขาหายตัวไป
แล้ว “เสี่ยหมี”ไม่ได้กลับมาที่ชุมชนอีกเลย
.
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
ติดต่อมาที่มูลนิธิกระจกเงา
แจ้งว่ามีศพนิรนาม ศพหนึ่ง คล้าย “เสี่ยหมี”
ถูกรถชนเสียชีวิตตั้งแต่ปี 2559 ที่ปทุมธานี
ถูกนำส่งชันสูตร ในฐานะศพนิรนาม
แต่ตอนนั้นไม่มีข้อมูลว่าศพนั้นเป็นใคร
.
กระทั่งตอนนี้
มีกระบวนการนำลายนิ้วมือศพนิรนาม
ไปตรวจเทียบกับฐานข้อมูลกรมการปกครอง
จึงทำให้ทราบว่า ชายเร่ร่อนที่ถูกรถชนตาย
ที่กลายเป็นศพนิรนามไม่ทราบชื่อ
เขา คือ “หมี” ที่ญาติตามหามานานกว่า 6 ปี
.
วันนี้เขาจะได้กลับไปยังชุมชน
ที่ทุกคนขนานนามเขาว่า “เสี่ยหมี”
จากคนหายไม่ทราบสถานะ
จนเป็นศพนิรนาม ที่ทราบชื่อนามสกุลแล้ว
.
ขอแสดงความชื่นชม
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
ที่ใช้ความรู้ ความสามารถของหน่วยงาน
พิสูจน์จนทราบว่า ผู้ตายเป็นใคร
————————————————————
ด้วยครอบครัวเสี่ยหมี มีฐานะยากจน
มูลนิธิกระจกเงา จึงสนับสนุนเงิน
สำหรับเป็นค่ารถรับศพ ค่าเดินทางญาติพี่น้อง
ตลอดจนค่าจัดการงานศพจำนวน 10,000 บาท
————————————————————
สนับสนุนการพาคนหายกลับบ้าน
ตามหาข้อมูลศพนิรนาม
และช่วยงานศพครอบครัวคนหายที่ยากไร้
บัญชีโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โดยมูลนิธิกระจกเงา
SCB 202-258-288-6
Share Button

บอกลาชีวิต ‘ไร้ฝัน’ คนไร้บ้านกล้าตั้งเป้าหมายอีกครั้ง

เมื่อปลายปี 2561 ก่อนเข้าสู่ปีใหม่ ปี 2562 เราจัดกิจกรรมงานเลี้ยงปีใหม่ให้กับกลุ่มคนไร้บ้าน ในวันนั้นกิจกรรมหนึ่งที่เราคิดขึ้นมาคือ “การ์ดความฝัน” กิจกรรมนั้นว่าด้วยให้คนไร้บ้าน เขียนความใฝ่ฝันลงไป
.
คนไร้บ้านในกิจกรรมวันนั้นมีจำนวนร่วม 100 คนได้ ความฝันใฝ่ใหญ่สุดที่รวมกันเป็นก้อนมหึมา ความฝันนั้นว่าด้วยการอยากมีงานมีรายได้ ความใฝ่ฝันนั้นหนักอึ้งในใจพวกเขา และความใฝ่ฝันนั้นก็หนักอึ้งในใจพวกเราไม่แพ้กัน
.
มีหลายรายที่ประกาศว่า ไม่มีอีกแล้วความใฝ่ฝันที่ว่า ในบางรายหวังมีชีวิตรอดให้ได้ในปีต่อปี เมื่อถามถึงเหตุผลของคนที่บอกกล่าวมาว่าตัวเองนั้นหมดแล้วซึ่งความใฝ่ฝัน คำตอบเขาเกี่ยวพันกับเรื่องการมีงานอย่างเลี่ยงไม่พ้น
.
งานมันนำมาซึ่งรายได้ รายได้ที่เหมาะสมมันนำมาซึ่งการก่อร่างสร้างความฝัน งานที่ค่าแรงต่ำเตี้ย งานที่ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง ใครที่ต้องอยู่กับสภาวะแบบนี้ อย่าว่าเรื่องมีความฝันเลย นึกคิดถึงชีวิตในวันต่อวันมันยังลำบากมากมายเลย
.
คนไร้บ้านตกอยู่ในสภาวะนี้ ทำและพยายามทำ หาและพยายามหา แต่งานใช่จะมีให้ทำได้ทุกวัน และงานที่เหมาะสมในบริบทรวมหมู่ที่พวกเขาเป็นอยู่ อย่างเช่น ความสูงอายุ ไม่มีทักษะอาชีพ เป็นแรงงานไร้ทักษะมาตลอดชีพ ร่างกายที่พังทลายมาจากการใช้แรงงานมาตลอดชีวิต งานไหนจะเหมาะให้เขาได้หาทำได้อีก
.
เมื่อคำตอบบอกว่าไม่มีงานนั้นอยู่จริง ความฝันของพวกเขาก็เป็นแค่ตัวถ่วงรั้งของชีวิต เป็นแรงกดทับที่ต้องวางทิ้งลง มันหนักเกินไปที่จะมีมันอยู่อีก ประโยคที่บอกว่า “ไร้ความฝัน” จึงกำเนิด แต่นั่นคือปี 2561 เป็นปีที่ยังไม่มีโครงการจ้างวานข้า โครงการที่ว่าด้วยการสร้างพื้นที่งานพื้นที่รายได้ให้กับกลุ่มคนไร้บ้าน พวกเราแบกน้ำหนักความฝันของคนไร้บ้านมาอีกประมาณ 2 ปี
.
ปี 2563 สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า โครงการจ้างวานข้าจึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อมกับการนำคนไร้บ้านเปลี่ยนผ่านมามีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงขึ้นนั้น นับรวมได้ 52 คน
.
จ้างวานข้าพาคนไร้บ้านได้กล้าฝันอีกครั้ง คนไร้บ้านได้กล้าดีไซน์ชีวิตว่าจะเอาอย่างไรต่อไป และเราจ้างวานข้าเองจึงกล้าใฝ่ฝันเช่นกันว่าในปีหน้าเราจะไปให้ถึงการพาคนไร้บ้านอีก 1 เท่าตัว เปลี่ยนผ่านมามีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้ได้
—————————
ร่วมใฝ่ฝันนี้ไปด้วยกับเรา…..
.
สนับสนุน​จ้างวาน​ข้าได้ที่​
โครงการผู้ป่วยข้างถนน โดยมูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 202-2-58289-4 SCB
Share Button