โครงการคลินิกกฎหมายกระจกเงา

โครงการคลินิกกฎหมายกระจกเงา

โครงการคลินิกกกฎหมายกระจกเงา เป็นโครงการที่ทำหน้าความช่วยเหลือทางกฎหมายกับคนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎมาย (ไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ/เสมือนไร้สัญชาติ) ซึ่งเป็นคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงสิทธิอันจำเป็นหลายประการ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลก และประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “No one left behind ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยปรากฏคนที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว ณ ตอนนี้อย่างน้อย 4 แสนคนโดยอ้างอิงจากตัวเลขของกระทรวงมหาดไทย

นอกจากการรักษาโรคไร้รัฐไร้สัญชาติแก่คนเปราะบางที่ประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติแล้ว โครงการนี้ยังมีวัตถุประะสงค์เพื่อการทำงานอย่างยั่งยืนผ่านพันธกิจขององค์กร

สร้างคน ด้วยกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจองค์ความรู้กฎหมายด้านสถานะบุคคล และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาร่วมกันให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายการทำงานต่อ โดยมุ่งเน้นเจ้าของปัญหาพร้อมครอบครัว และผู้รักษาการตามกฎหมายทั้งระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย ตลอดจนเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้งานนักกฎหมายอาสาสมัคร ทั้งกลุ่มนักกฎหมายวิชาชีพ และนักกฎหมายตีนเปล่า ตลอดจนภาควิชาการที่ทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาผ่านเรื่องจริงทางสังคม (True story)

สร้างนวัตกรรม ผ่านการสร้างระบบงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (สำรวจข้อเท็จจริง/กำหนดสถานะตามกฎหมาย/พัฒนาสิทธิ/ถอดบทเรียนเพื่อปฏิรูป) ให้มีระบบเทคโนโลยีในการจัดเก็บ/ประมวลผล/ส่งต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานรับแจ้งเหตุ/สร้างความเข้าใจ/ให้ความช่วยเหลือ/ติดตามผล นำไปสู่การสร้างต้นแบบการทำงานคลินิกฎหมายด้านสถานะบุคคล

สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยการทำงานที่ต่อเนื่องในการสร้างเครือข่ายคลินิกกฎหมายเพื่อคนเปราะบางที่เข้มแข็ง และการปฏิรูปกฎหมายนโยบาย อันรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การเป็นสังคมภายใต้กฎหมายที่ยุติธรรม (the rule or law) สำหรับคนทุกคนอย่างเท่าเทียม

โดยหน้าที่ของนักศึกษาฝึกงานคือการสนันสนุนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆในโครงการอันได้ดังนี้

  • สนับสนุนเจ้าหน้าที่โครงการในการดำเนินงานเอกสารให้ความช่วยเคสช่วยเหลือเคส
  • สนับสนุนเจ้าหน้าที่โครงการในการสืบค้นข้อมูลประกอบการพัฒนางานระบบให้ความช่วยเหลือ
  • สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่สำรวจและให้ความช่วยเหลือเคส
  • สร้างทัศนคติและให้ความรู้ความเข้าใจองค์ความรู้กฎหมายด้านสถานะบุคคลที่ถูกต้องให้กับเคส,บุคคลผู้เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไป
  • ประสานงานเครือข่ายคลินิคกฎหมายเพื่อคนเปราะบางและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง