นับจากเหตุการณ์พิบัติภัยสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติขนาดกลางถึงใหญ่อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นดินถล่ม ไฟป่าหมอกควัน จากพิบัติภัยต่างๆที่กล่าวมาทำให้เราพบว่า เมื่อใดก็ตามที่ภัยเหล่านั้นเกิดขึ้น ความฉุกละหุกและยากลำบากในการเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และมีความจำเป็นต้องมีระบบการประเมิน - วิเคราะห์ - ทำนาย เพื่อการวางแผน การเข้าไปจัดการแก้ไขอย่างมีระบบและทันท่วงที นอกจากนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการฟื้นฟูชุมชนอย่างต่อเนื่อง
"โครงการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน"
โดยหน้าที่ของนักศึกษาฝึกงานคือเตรียมพร้อมสำหรับการสนันสนุนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อมีการร้องขอความช่วยเหลือ
ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน จึงทำหน้าที่เพื่อเป็นโครงการฯ คู่ขนานที่ช่วยลดช่องว่างในสถานการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่เกินกำลังของรัฐ หรือสถานการณ์ที่ความเสียหายอยู่นอกเหนือการประเมินของรัฐ ซึ่งผู้ประสบภัยไม่อาจเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูชุมชนด้วยตนเองได้ทั้งหมด จึงเกิดการทำงานของอาสาสมัครภาคประชาชน ผ่านการประสานขององค์กรพัฒนาเอกชน และที่สำคัญการทำงานของอาสาสมัครภาคประชาชนทำให้ภารกิจในการช่วยเหลือและฟื้นฟูนั้นดำเนินไปได้อย่างทันท่วงที
"โครงการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน"
โดยหน้าที่ของนักศึกษาฝึกงานคือเตรียมพร้อมสำหรับการสนันสนุนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อมีการร้องขอความช่วยเหลือ
(สำหรับตำแหน่งนักศึกษาฝึกงานทีมนวัตกรรม)