วาดฝัน – กิจกรรมดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นลูคีเมีย โดยอาสาสมัครเยาวชน

ฉันมีความมุ่งมั่น
และฉันหวัง
ที่แต่ละชั่วขณะ
จะสวยงามราวกับเป็นดินสอสี
และฉันหวัง
ว่าจะสามารถวาดมันลงกระดาษเปล่าอันล้ำค่า
ด้วยอิสระที่เซ่อซ่า
ด้วยดวงตา
ที่ไม่ต้องร้องไห้อีกต่อไป

           กู่ เฉิง (Gu Cheng) เขียนกลอนบทนี้ด้วยปากกาที่คนสามารถวาดภาพอรุณยามเช้า วาดรอยยิ้ม และวาดความหวังของเขาหรือเธอก็ได้ วันนี้อาสาสมัคร 5 คนจาก Chu Kochen Honors College ไปโรงพยาบาลเด็กในมณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang) และได้นำแปรงสีพร้อมกับกระดาษให้เด็กวาดความปรารถนาของตัวเอง

บนชั้น5 และชั้น6 ของโรงพยาบาลเด็ก มีเด็กจำนวนมากที่อายุน้อยกว่า 10 ขวบอาศัยอยู่ และต้องเผชิญต่อสู้กับความเจ็บปวดจากความทรมานของโรคลูคีเมีย ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์สามารถรักษาให้เด็กจำนวนมากจนสามารถกลับบ้านได้ในเวลา 2-3 ปี แต่กลับขาดแคลนเกมและอาหารอร่อย ๆ อย่างที่เด็กข้างนอกมีกัน พวกเขาไม่สามารถเล่นสนุกกับเพื่อนๆได้ ตามทางเดินอาคารที่มีกลิ่นน้ำยาฆ่าเชื้อของโรงพยาบาล เมื่อมองออกนอกหน้าต่าง ก็ไม่เห็นอะไรนอกจากกำแพงสีหม่น นับวัน นับปี จนกระทั่งเด็กๆก็เริ่มชินกับชีวิตแบบนี้ไป

ดังนั้นอาสาสมัครเยาวชนได้เข้ามาจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดูแลผู้ป่วยลูคีเมียเด็ก อย่างเช่นการพูดคุย การอยู่เล่นกับเด็กๆ รวมถึงการจัดการแสดงเล็กๆให้กับน้องๆ ทำกิจกรรมโดยที่จะสอนวาดรูประบายสี,พับกระดาษ,ปั้นดินน้ำมัน และดนตรี โดยให้ความสำคัญในการสื่อสารกับเด็กเท่าๆกับการถามความต้องการของเด็กว่าอยากจะวาดอะไร มีกรณีที่เด็กคนหนึ่งมีปัญหาเพราะมือของเขามีเข็มฉีดยาฝังอยู่ บอกกับพี่ๆว่าอยากจะวาดรูปอาหารที่เขาอยากกิน อย่างเช่นโค้ก, ไอศครีม, ลูกอมลอลลี่ป๊อบ แม้จะเป็นงานที่ต้องใช้เวลา แต่ทีมอาสาเราได้ช่วยให้น้องๆร่างโครงและระบายสีจนได้ผลงานที่น่าพอใจ

2file.php นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกคนหนึ่ง เขาอยากจะวาดทะเล เรือท่องมหาสมุทร ฝูงปลาโลมา และคลื่นทะเลกระทบหอประภาคาร บ้างถ้าหากไม่มีโรคลูคีเมีย เขาอาจจะสามารถไปที่ชายหาด ขี่เรือท่องทะเลตรงไปหาหอประภาคารที่ฝันถึง ที่แม้ในตอนนี้เป็นเพียงรูปวาดใบหนึ่งหลังจากจบกิจกรรม ในช่วงเวลาเดินทางกลับ มีเด็กคนหนึ่งดึงตัวอาสาสมัครเอาไว้ และบอกกับเธอว่าเขาไม่อยากกลับไปที่วอร์ด เหล่าอาสาต้องช่วยกันปลอบเขา เมื่อถึงเวลาต้องจากกัน พวกเราก็ได้ให้คำสัญญาว่าจะต้องได้กลับมาเจอกับน้องๆอีก กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมทางการอันแรกของโครงการห้องเรียนในโรงพยาบาล (Hospital Classroom) และต่อจากนี้จะมีกิจกรรมที่นำความรู้และความสุขมาให้กับเด็กๆ ซึ่งบางทีก็ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาโชคดี แต่เราก็หวังว่าอย่างน้อยเด็กๆจะมีโอกาสได้วาดฝันของพวกเขา

file.php

 จากกิจกรรมศิลปะของเยาวชนอาสาสมัคร จัดให้แก่ผู้ป่วยเด็กโรคลูคีเมีย ส่งผลอย่างมากต่อภาวะจิตใจของเด็กป่วย ทำให้เด็กป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างออกไป ได้ทำ ได้วาด ได้ฝัน ได้จินตนการ เท่าที่ตนเองสามารถทำได้ ผ่านศิลปะ ซึ่ง “อาสาสมัคร” มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อน “ความสุข” สู่ผู้ป่วยเด็กโรคลูคีเมีย ที่มีความชินชากับบรรยากาศในพื้นที่โรงพยาบาล จนแทบจะจำไม่ได้ว่าเคยวาดฝันอะไรไว้บ้างก่อนที่จะเข้ามานอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานนับปีเช่นนี้

 ด้วยเด็กป่วยต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานพยาบาล ถูกจำกัดด้วยข้อห้ามต่าง ๆ เช่น การถูกจำกัดเรื่องอาหารการกิน พื้นที่ การไม่ได้ไปโรงเรียน เพื่อให้การรักษาดีขึ้น ย่อมมีผลต่อจิตใจของเด็กมากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันออกไป

การเข้ามาสนับสนุนการทำงานของ รพ.ด้วย “อาสาสมัคร” ช่วยทำให้ลดความตึงเครียดลงในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล เป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้เชื่อได้ว่าสภาพการดำเนินงานภายในปัจจุบันนี้ เป็นภาระของการทำงานที่ต้องมุ่งรักษาทางกายเป็นหลัก การดูแลรักษาด้านจิตใจของเด็กป่วยจึงถูกลดความสำคัญลง

ดังนั้น “อาสาสมัคร” จึงเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ให้แก่คนในพื้นที่โรงพยาบาล สภาพแวดล้อมใหม่นี่เองจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลไกความสุข ให้เกิดขึ้น ดังเช่นบทกลอนที่กู่ เฉิง (Gu Cheng) ได้เขียนปิดท้ายการทำกิจกรรมอาสาสมัครของเขาและเพื่อนเยาวชนไว้ว่า

IMG-7224

ฉันอยากที่จะดับไฟของความเจ็บปวด
ฉันอยากจะวาดหน้าต่าง
ปกปิดผืนแผ่นดิน
และทำให้ดวงตาในความมืดเหล่านั้น
มีแสงอาศัยอยู่
ฉันอยากที่จะวาดภูเขาให้สูงขึ้นและสูงขึ้นอีก
เพื่อที่จะวาดความปรารถนาให้กับชนชาติตะวันออกนี้
เพื่อที่จะวาดท้องทะเล
ที่ซึ่งเสียงของความยินดีก้องไปอย่างไร้ขอบเขต

#อาสาสมัคร #เพิ่มสุขลดทุกข์ #เด็กป่วย #โรงพยาบาล

แปล : แสงเพชร งามพฤกษ์วานิชย์
เรียบเรียง : กรวิกา ก้อนแก้ว
ที่มา : http://ckc.zju.edu.cn/english/redir.php?catalog_id=395&object_id=67589

Share Button

ปลายสายแห่งความหวัง…….

ปลายสายแห่งความหวัง…….

“อีหนูยายได้คุยกับลูกชายของยายแล้วนะลูก
ยายมีความสุขเหลือเกิน ขอบคุณหนูมากสำหรับคำแนะนำ
ในการตามหาลูกชาย ความสุขของคนเป็นแม่
แค่นี้ก็ชื่นใจมากแล้วลูกเอ่ย ขอให้หนูเจริญๆนะลูก
บทสนทนาของหญิงชราทางสายโทรศัพท์”

ทุกวันที่ “ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา”
จะทำการรับแจ้งประสานงานและให้คำแนะนำ
ในการติดตามหาคนหายทางสายโทรศัพท์
วันละ 5-7 ครอบครัว ทุกสายที่โทรเข้ามาล้วนมีความหวัง
ว่าจะได้รับการช่วยเหลือ หน้าที่ของเราคือการให้คำปรึกษา
คำแนะนำ รวมไปถึงการให้กำลังใจบุคคลที่โทรเข้ามา
เพราะทุกสายต่างมีความทุกข์
ต้องการระบายเพื่อหาทางออกให้กับตัวเอง
และความหวังในการพบเจออีกคนที่หายไป ……

ตลอดเวลาของการสนทนากับคุณยายท่านนี้
เราสัมผัสถึงความสุขผ่านปลายสายโทรศัพท์ของผู้เป็นแม่
ที่ได้มีโอกาสได้ยินเสียงลูกชายที่รักอีกครั้ง
และยังมีหลายครอบครัวที่ได้ประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้
คนที่หายไปจากบ้าน….
ไม่ยอมติดต่อกับคนทางบ้าน
เพียงเพราะคิดว่าไม่อยากให้ใครเป็นห่วง
แต่การเงียบหายไปนั้นยิ่งทำให้คนในครอบครัว
เป็นห่วงเขาและเธอมากขึ้นกว่าเดิม

หน้าที่ของคนรับสายโทรศัพท์
ผู้เป็นเสมือนปลายทางแห่งความหวัง
ถึงแม้บางครั้งคนที่ทำหน้าที่ตรงนี้อาจไม่มีเวลา
ส่วนตัวมากนัก แต่พวกเราเองก็รู้สึกดีที่อย่างน้อย
การอุทิศชีวิตในการทำงานของเราให้กับครอบครัวคนหาย
เรายังได้เป็นที่พึ่งพา เป็นความหวังของใครหลายๆ คน
หลายๆ ครอบครัวที่โทรเข้ามาหาเรา
ด้วยความหวังร่วมกันว่าการรอคอยจะได้สิ้นสุดลง

“การรอคอยต้องมีวันสิ้นสุด”
ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา

mirror1

Share Button

โรงพยาบาลสถานที่สร้างสุข

      คนโดยทั่วไปมองว่าโรงพยาบาลเป็นที่ที่มีแต่ผู้ป่วย ความเจ็บปวด ความเศร้า ความหดหู่ น้ำตา และกลิ่นฉุนของยามองไปทางมุมไหนล้วนเต็มไปด้วยความทุกข์โศกเป็นสภาพแวดล้อมแบบนี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันสิ่งเหล่านี้ล้วนถูกส่งผ่านจนกลายเป็นความเชื่อและถูกบอกต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งมันก็เป็นข้อเท็จจริง หากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นมันดูเลวร้ายและเรายังนิ่งเฉย แสดงว่าเราจำนนกับสิ่งที่เป็นอยู่ โรงพยาบาลแม้จะเต็มไปด้วยเรื่องราวของความทุกข์ แต่เราก็สามารถโต้ตอบความทุกข์นั้นได้ด้วยเช่นกัน โดยการเข้าไปเพิ่มความสุขบุกยึดพื้นที่แห่งความทุกข์นั้นเสีย

     เช่นนั้นแล้วโครงการโรงพยาบาลมีสุข จึงมีแนวคิดว่าโรงพยาบาลไม่ควรเป็นได้แค่พื้นที่ของความทุกข์ แต่ว่ามันควรเต็มไปด้วยเรื่องราวดี ๆ ด้วย เช่น ความสุข ความช่วยเหลือ เสียงหัวเราะ มิตรภาพ กิจกรรมที่ผ่อนคลาย และที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้โรงพยาบาลเป็นที่ที่สามารถเรียนรู้ได้ของคนในสังคมและเป็นได้มากกว่าโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยทางกายภาพ

   ดังนั้นการปฏิบัติการของโครงการโรงพยาบาลมีสุขจึงเข้าไปทำปฏิบัติการ และพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรม “เพิ่มความสุข ลดความทุกข์” แก่ผู้ป่วยเด็ก ผู้ปกครอง/ญาติรวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ลดความตึงเครียด สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในโรงพยาบาล โดยมี อาสาสมัคร เป็นกำลังสำคัญเข้ามาหนุนเสริม ทำให้โรงพยาบาลเชื่อมโยงกับสังคมในมิติอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่สถานที่ให้บริการทางการแพทย์เท่านั้น

b-happy1

ซึ่งแนวคิดเรื่องของการสร้างสุขในพื้นที่โรงพยาบาลนั้น ไม่ใช่เพิ่งเริ่มคิดหรือริเริ่มทำ ได้มีคนบางกลุ่มในโลกนี้ ที่ทำโรงพยาบาลให้เป็นได้มากกว่าโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยทางกายภาพ

เช่น มูลนิธิพุทธฉือจี้ ของประเทศไต้หวัน ซึ่งมีแนวคิดเรื่อง “ The Mission to be a Humane Docter ” = “ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ” การบริการที่ทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางกายภาพและเรื่องของสภาพจิตใจได้เปลี่ยนโรงพยาบาลจากที่มีแต่ ความทุกข์ให้เป็นความสุข มีคนกว่า 5-6 ล้านคน เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร

b-happy2

เช่นเดียวกับมูลนิธิ Stichting Ambulance Wens ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ทำโครงการ “รถพยาบาลแห่งความหวัง” ช่วยเติมฝันให้ความปรารถนาสุดท้ายของผู้ป่วยใกล้สิ้นใจเป็นจริงเพราะเชื่อว่า การได้นำความหวังและชีวิตชีวามาให้คนไข้และครอบครัวในสภาวะที่หมดหวังอีกครั้งเป็นจุดเปลี่ยนให้กับการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ผู้คนต้องเผชิญกับความตายอย่างมีความหมายและเปิดกว้างมากขึ้น

หรือที่โรงพยาบาลเด็ก ฟิลาเดลเฟีย ได้จัดให้มีกิจกรรม ศิลปะและดนตรีบำบัด ในโรงพยาบาลเพื่อให้เด็กสามารถรับมือกับการเข้าพักที่โรงพยาบาลได้ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ประเทศทางอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป ได้มีอาสาสมัครบางกลุ่มแสดงเป็นตัวตลก บางกลุ่มใส่ชุดเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ หรือแม้กระทั้งดาราคนดังทั้งหลาย ได้ไปแสดงและให้กำลังใจแก่เด็กป่วย ตามเตียง สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับเด็กป่วยได้ไม่น้อย ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ขจัดความเบื่อหน่าย และความเหงาออกไป

“โรงพยาบาลสถานที่สร้างสุขนั้น เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ฉะนั้นมันย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยเช่นกัน”

 

ที่มาของภาพ : www.news.com.au, www.reddit.com, www.ecorazzi.com, www.happyhospital.org

 

 

Share Button