“ฉันจะไม่ยอมแพ้ จนกว่าหัวใจจะเจ็บช้ำ” “ลูคีเมีย” เกิดขึ้นเพียงในร่างกาย มันพ่ายแพ้ต่อหัวใจที่ใสบริสุทธิ์

ปรากฏการณ์ Tyler Butler-Figueroa คือการออดิชั่นเด็กที่สะเทือนใจที่สุดเท่าที่เคยมีมาใน America’s Got Talent 2019 ส่งผลให้ผู้ชมหลายต่อหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เด็กชายอายุ 11 ปีที่ป่วยด้วยโรคลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวตั้งแต่เกิด  เขาโชว์ลีลาการเล่นไวโอลีน ด้วยท่าทีที่มั่นใจ และบทเพลงจากสายไวโอลินก็หนักแน่นเด็ดขาด ไม่แพ้ดวงตาอันมุ่งมั่นที่ส่องประกายเศร้าคู่นั้น ต้องยอมรับว่าฝีมือการสีไวโอลินของเขาเฉียบขาดไม่เป็นรองใคร หากเขาคือเด็กชายธรรมดาคนหนึ่ง เรื่องราวหลังจบการแสดงคงเป็นเพียงเด็กชายมหัศจรรย์ที่พกพรสรรค์มาเต็มสองมือ แต่กับ Tyler ไม่ใช่แค่นั้น แววตาเศร้าๆ ที่มีน้ำตาเอ่อที่ขอบตาเป็นระยะๆทำให้ผู้ชมรับรู้ว่า เขาไม่ใช่เด็กชายที่ใช้ชีวิตธรรมดาๆเช่นเด็กอื่นๆ หลังจากรับรู้ว่าเขาป่วยด้วยโรคลูคีเมียมาตั้งแต่สี่ขวบ มันทำให้รู้ว่าเบื้องหลังเสียงสั่นเครือและดวงตาอันหมองเศร้า เด็กชายคนนี้ผ่านความทุกข์จากความเจ็บป่วยมามาก จนยากที่จะพรรณา 

ยิ่งไปกว่านั้น ท่วงทำนองเพลงที่เขาเลือกใช้ในการแสดงครั้งนี้คือ เพลงที่ชื่อว่า “Dont Give up on me” by Andy Grammer  “ฉันจะไม่ยอมแพ้” คือชื่อเพลงที่เด็กชายเลือกมาแสดงความสามารถต่อทุกคน และหากได้ฟังเนื้อเพลงแบบละเอียดๆแล้ว น้ำตาที่ไหลอยู่ตอนที่กำลังนั่งชมการแสดงชุดนี้จะยิ่งพรั่งพรู พลางคิดในใจว่า  “เด็กผู้ชายคนนี้เอาความเข้มแข็งเหล่านี้มาจากไหน”

ไทเลอร์ให้สัมภาษณ์ในรายการว่า เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ตอนอายุสี่ขวบครึ่ง และต้องเข้ารับการรักษาด้วยการรับเคมีบำบัด หลังจากที่เขาเริ่มสูญเสียเส้นผมจากการทำเคมีบำบัดเขารู้สึกเศร้าและอายที่จะไปโรงเรียน ความรู้สึกเหล่านั้นแย่ลงเมื่อเด็ก ๆ ที่โรงเรียนเริ่มหัวเราะเยาะเขาเพราะความแตกต่าง เขาบอกว่าพวกเขาจะอยู่ห่างจากเขาและบอกว่ามะเร็งของเขา“ เป็นโรคติดต่อ” และไม่มีใครอยากเล่นหรือคบเขาเป็นเพื่อน วันหนึ่งเมื่อเขาเห็นใบปลิวเปิดให้เรียนไวโอลินฟรีซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหลังเลิกเรียน ตอนนั้นเขาอายุ 7 ขวบ เขาขอร้องแม่ให้อนุญาตให้เขาได้เรียนไวโอลิน แล้วเรื่องราวก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาได้เล่นไวโอลิน 

 

“เมื่อฉันเล่นไวโอลินมันช่วยให้ฉันลืมเรื่องเลวร้ายทั้งหมด” ไทเลอร์กล่าวก่อนการออดิชั่นของเขา

เธอ และไวโอลินให้พลังงานและความสุขแก่เขาอีกครั้งและเธอก็รู้สึกว่าในที่สุดเธอได้ลูกชายคืนกลับมา

ทันทีที่ไซมอน โคเวลล์ ซึ่งถือว่าเป็นกรรมการสุดโหดประจำรายการ กด GOLDEN BUZZER!!!

เด็กชายทรุดตัวลงพร้อมกับร้องไห้เงียบๆด้วยความดีใจ อาจเป็นเพราะประโยคคำถามง่ายๆ ที่ไซมอนถามไทเลอร์ว่า 

How are you feeling now?’ Simon asked, inquiring about his cancer 

ตอนนี้เขารู้สึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับโรคมะเร็งของเขา

‘I’m feeling really proud of myself,’ Tyler said 

ไทเลอร์ตอบแบบมั่นใจว่า “เขารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมาก” 

และคำพูดสุดท้ายของไซมอนที่กล่าวกับไทเลอร์คือ 

“เราเคยได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับผู้คนที่ถูกรังแก แต่ฉันสามารถบอกคุณได้สิ่งหนึ่ง คนส่วนใหญ่ถูกรังแกเพราะพวกเขาดีกว่าคนที่รังแกพวกเขาและผมคิดว่าคุณมีบุคลิกที่น่าทึ่งและผมอยากจะบอกอะไรสักอย่างกับคุณ ในนามของคุณต่อคนที่เคยล้อเลียนคุณว่า” แล้วเขาก็ กด GOLDEN BUZZER!!! และเช่นเดิมเป็น  GOLDEN BUZZER ที่ช่วยตอกย้ำให้เด็กชายรู้สึกมั่นใจในตัวเอง และเชื่อมั่นว่าหากถ้าใจไม่ยอมแพ้ ร่างกายและเลือดเนื้อและโรคภัยจะยอมจำนนในสักวัน

 

“ฉันไม่ต้องการเป็นเด็กที่เป็นมะเร็งดังนั้นตอนนี้ฉันเป็นเด็กที่เล่นไวโอลิน” ไทเล่อร์กล่าวย้ำ

สิ่งมหัศจรรย์คือ “เขาคือเด็กป่วย” ที่มองจากภายนอกแล้วเหมือนเด็กธรรมดาๆคนหนึ่ง หากไม่ได้มองลึกเข้าไปในแววตา เราคงไม่มีทางรู้ได้ว่า ภายใต้รอยยิ้มอันสดใส และท่าทีอันกระตือรือร้นเหล่านั้น เด็กชายคนนี้เคยเผชิญชีวิตอยู่กับความเป็นความตายมานักต่อนักแล้ว

และไม่ว่าจะอย่างไร การเอาตัวเอาใจออกห่างจากโรคภัยบ้าง ก็ทำให้ชีวิตเป็นปกติสุขได้ แม้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม และในทึ่สุด “ดนตรี” ก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันอันแข็งแรงให้กับร่างกายอันเหนื่อยล้าได้ มันทรงพลังและส่งผลต่อทั้งร่างกาย จิตใจของเด็กป่วย ซ้ำยังส่งต่อพลังบริสุทธิ์ไปยังคนทั่วไปที่ได้รับฟังบทเพลงสักเพลง  อีกทั้ง “ดนตรี” ยังสามารถเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดให้รู้สึกเจ็บปวดลดลง ช่วยให้ทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น และสามารถลดความวิตกกังวลและกลัวลงได้  

เมื่อเขาไม่รู้สึก เจ็บ และ กลัว อีกต่อไป ร่างกายจึงพร้อมที่จะต่อสู้ แม้ว่าโรคจะร้ายแรงสักแค่ไหน และมักเป็นเด็กๆที่เข้าใจนัยยะที่ซ่อนไว้ในทุกตัวโน๊ต เด็กป่วยก็คือเด็ก เขาคิด อ่าน เขียน และยัง “เล่น”ได้ ตามจินตนาการที่ยังเหลือล้น แม้ร่างกายจะอ่อนล้า แต่ไม่ควรปล่อยให้ความสุขๆเล็กๆน้อยๆจากการเล่นหายไปจากจินตนาการ คืนพื้นที่เล่นให้เด็กป่วยเท่ากับฟื้นร่างกายและจิตใจอันเบิกบานให้กับเด็กป่วยทุกคน 

#เล่นให้สมกับที่เป็นเด็ก

#โครงการโรงพยาบาลมีสุข

Share Button